Services
การจดทะเบียนบริษัท
บริษัทให้บริการการรับจดทะเบียนกิจการ ทั้งบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้
สนในบริการด้านการจดทะเบียนกิจการ กดเลย
บริการจดบริษัท
การขอจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีการขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วให้ดําเนินการดังนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2. เมื่อมีการจองซื้อหุ้นหมดแล้ว ก็ให้ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือนัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อประชุม จัดตั้งบริษัท การออกหนังสือนัดประชุมจะต้องห่างจากวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน (หรือก่อนวันประชุม อย่างน้อย 7 วัน)
3. จัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัท
3.1 องค์ประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ทั้งหมดและนับจํานวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด (จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนก็ได้)
3.2 วาระการประชุม
(1) รับรองบัญชีรายชื่อฐานะและสํานักของผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น พร้อมทั้งจํานวนหุ้นซึ่งต่างคน ได้ลงชื่อซื้อไว้
(2) พิจารณาตั้งข้อบังคับของบริษัท
(3) พิจารณาให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทําไว้และค่าใช้จ่าย ที่ผู้เริ่มก่อการต้องจ่ายในการเริ่มก่อตั้งบริษัท
(4) พิจารณาเรื่องหุ้น
(5) พิจารณาเลือกตั้งกรรมการชุดแรกและกําหนดอํานาจกรรมการ
(6) พิจารณาเลือกตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทั้งกําหนดค่าสินจ้าง (การตั้งผู้สอบบัญชี รับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงินต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเท่านั้น จะแต่งตั้งสํานักงาน ตรวจสอบบัญชีไม่ได้)
4. ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการงานทั้งหมดให้แก่คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม
5. คณะกรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
6. เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว ให้กรรมการผู้มีอํานาจจัดคําขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน การยื่นจดทะเบียนจะต้องให้กรรมการผู้มีอํานาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอจดทะเบียนและ ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะทําให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป หากต่อไปต้องการจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ต้องดําเนินการจัดประชุม ผู้จองซื้อหุ้นใหม่
หมายเหตุ : หลังปิดวาระการประชุม ทางสำนักงานบัญชี BUSINESS GEPUP จะเรียกขอข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจํากัดและเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท
บริการแก้ไขอำนาจกรรมการผู้ถือหุ้น
ในกรณีที่กรรมการของบริษัทต้องการออกจากตําแหน่งกรรมการและบริษัทได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ แทนพร้อมทั้งประสงค์จะแก้ไขอํานาจกรรมการผู้มีอํานาจลงนามกระทําการแทนบริษัทนั้น บริษัทจะต้อง จัดประชุมผู้ถือหุ้นหรือประชุมคณะกรรมการของบริษัทแล้วแต่กรณีเพื่อมีมติให้กรรมการออกจากตําแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนคนที่ลาออกพร้อมทั้งมีมติให้แก้ไขอํานาจกรรมการให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงกรรมการด้วย การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและ/หรืออํานาจกรรมการ ต้องให้กรรมการผู้มีอํานาจ ตามที่จดทะเบียนไว้เดิม เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง กรรมการจะต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ การดําเนินการในกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องดําเนินการดังนี้
1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ
1.1 การแต่งตั้งกรรมการ
(1) แต่งตั้งโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(2) แต่งตั้งโดยมติคณะกรรมการแทนกรรมการที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบกําหนดวาระ กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จะมีวาระเท่ากับกรรมการเดิมที่ออกไป กรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการใหม่เพิ่มเติมจากจํานวนกรรมการที่มีอยู่เดิม จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เท่านั้นมีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่
1.2 กรรมการพ้นจากตําแหน่งด้วยเหตุดังต่อไปนี้
(1) ครบกําหนดวาระ ในการประชุมสามัญประจําปีแต่ละปีกรรมการจะต้องออกจากตําแหน่ง จํานวนหนึ่งในสาม (โดย 2 ปีแรก หลังจากตั้งบริษัทถ้ามิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้วิธีการจับสลากออก ส่วนปีถัดไป (ปีที่ 3) ให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออกจากตําแหน่ง) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการ ที่ออกจากตําแหน่งกรรมการที่ออกจากตําแหน่งจะถูกแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทอีกก็ได้
(2) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ป.พ.พ.มาตรา 1151 และมีมติ แต่งตั้งกรรมการใหม่แทน *การปลดกรรมการออกจากตําแหน่งจะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น*
(3) ออกจากตําแหน่งกรรมการโดยมีหนังสือลาออกถึงบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1153/1
(4) ตาย
(5) ล้มละลาย ป.พ.พ. มาตรา 1154
(6) ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ป.พ.พ. มาตรา 1154
2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอํานาจกรรมการ ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ บางครั้งก็จะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการ แทนบริษัท ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขอํานาจกรรมการให้สอดคล้องกับกรรมการด้วย หรือบางครั้งไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกรรมการ แต่บริษัทประสงค์จะแก้ไขอํานาจกรรมการเพื่อให้การบริหารงานคล่องตัว หรือรัดกุม มากยิ่งขึ้น ก็ดําเนินการแก้ไขอํานาจกรรมการเพียงอย่างเดียวก็ได้ การแก้ไขอํานาจกรรมการนั้น จะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ที่ประชุมคณะกรรมการมีอํานาจลงมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงอํานาจ กรรมการได้ก็ให้ใช้มติที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ โดยไม่ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นได
บริการแก้ไขชื่อบริษัท
ในกรณีที่บริษัทมีความประสงค์เปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจะต้องดำเนินการดังนี้
1. กรรมการของบริษัทจองชื่อใหม่
2. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และให้ระบุ วาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทและตราสำคัญของบริษัท รวมทั้ง แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าว ทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรก แห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
3. ในการลงมติให้แก้ไขชื่อ และตราสำคัญของบริษัท รวมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและ มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
4. จัดทำคำขอจดทะเบียน รายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อบริษัท) โดยให้ กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียนแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
5. ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนตราสำคัญไว้โดยระบุชื่อบริษัทไว้ในตรา บริษัทต้องจดทะเบียนแก้ไข ตราสำคัญให้สอดคล้องกับชื่อใหม่ด้วย ให้ระบุรายการแก้ไขตราสำคัญไว้ในคำขอจดทะเบียนเดียวกับการแก้ไขชื่อบริษัท
บริการแก้ไขเพิ่มที่อยู่สำนักงานในจังหวัดภูเก็ต
ในกรณีย้ายที่อยู่สำนักงานหรือเพิ่มสาขา การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่อยู่ในจังหวัดเดียวกันตาม
1. กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ ดังนั้น ในการจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่จึงไม่ต้องอ้างอิงมติที่ประชุม แต่หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้แก้ไข จะระบุรายละเอียดการประชุมในคำขอ จดทะเบียนด้วยก็ได้ การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่ย้ายไปตั้งอยู่จังหวัดอื่นตาม
2. กฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) ว่าจะย้ายสำนักงานไปตั้งอยู่จังหวัดใด ดังนั้น ในการจดทะเบียนจะต้องอ้างอิง มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขอจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 2 (สำนักงานของบริษัท) และจดทะเบียนรายการแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่อีกรายการหนึ่งด้วย
บริการจดทะเบียนเลิกบริษัท
หากต้องการที่จะปิดบริษัทจะต้องดำเนินการดังนี้
1. บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
1.2 โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
1.3 เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัท
คำขอจดทะเบียนเลิกและอำนาจของผู้ชำระบัญชีของบริษัท จะต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ชำระบัญชี ซึ่ง ได้แก่กรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีของบริษัท หากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการทุก คนของบริษัทต้องเป็นผู้ชำระบัญชี โดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชำระบัญชีมีหลายคน ผู้ชำระบัญชีทุกคนต้อง กระทำการร่วมกัน เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กำหนดอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่บริษัทไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องการตั้งผู้ชำระบัญชีไว้ หากบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการ บางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีจะต้องให้ที่ ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชี เมื่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน บริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี การเลิกบริษัทกรณี อื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีของ บริษัทให้เสร็จสิ้นไป เช่น การรวบรวมทรัพย์สิน ชำระหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการได้ ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนและเฉลี่ยเป็นกำไรในระหว่างผู้ถือหุ้น และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี เมื่อได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว การฟ้องคดีเรียกหนี้สินที่ บริษัท กรรมการหรือผู้ชำระบัญชีเป็นหนี้อยู่นั้น จะต้องทำการฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันเสร็จสิ้นการชำระ บัญชี
2. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอและยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัท
3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
4. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ขั้นตอนตาม 2-4 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท