ในกรณีที่กรรมการของบริษัทต้องการออกจากตําแหน่งกรรมการและบริษัทได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ แทนพร้อมทั้งประสงค์จะแก้ไขอํานาจกรรมการผู้มีอํานาจลงนามกระทําการแทนบริษัทนั้น บริษัทจะต้อง จัดประชุมผู้ถือหุ้นหรือประชุมคณะกรรมการของบริษัทแล้วแต่กรณีเพื่อมีมติให้กรรมการออกจากตําแหน่ง และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนคนที่ลาออกพร้อมทั้งมีมติให้แก้ไขอํานาจกรรมการให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงกรรมการด้วย การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและ/หรืออํานาจกรรมการ ต้องให้กรรมการผู้มีอํานาจ ตามที่จดทะเบียนไว้เดิม เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง กรรมการจะต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ การดําเนินการในกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องดําเนินการดังนี้
1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ
1.1 การแต่งตั้งกรรมการ
(1) แต่งตั้งโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(2) แต่งตั้งโดยมติคณะกรรมการแทนกรรมการที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบกําหนดวาระ กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จะมีวาระเท่ากับกรรมการเดิมที่ออกไป กรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการใหม่เพิ่มเติมจากจํานวนกรรมการที่มีอยู่เดิม จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น เท่านั้นมีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่
1.2 กรรมการพ้นจากตําแหน่งด้วยเหตุดังต่อไปนี้
(1) ครบกําหนดวาระ ในการประชุมสามัญประจําปีแต่ละปีกรรมการจะต้องออกจากตําแหน่ง จํานวนหนึ่งในสาม (โดย 2 ปีแรก หลังจากตั้งบริษัทถ้ามิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้วิธีการจับสลากออก ส่วนปีถัดไป (ปีที่ 3) ให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออกจากตําแหน่ง) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการ ที่ออกจากตําแหน่งกรรมการที่ออกจากตําแหน่งจะถูกแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทอีกก็ได้
(2) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ป.พ.พ.มาตรา 1151 และมีมติ แต่งตั้งกรรมการใหม่แทน *การปลดกรรมการออกจากตําแหน่งจะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น*
(3) ออกจากตําแหน่งกรรมการโดยมีหนังสือลาออกถึงบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1153/1
(4) ตาย
(5) ล้มละลาย ป.พ.พ. มาตรา 1154
(6) ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ป.พ.พ. มาตรา 1154
2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอํานาจกรรมการ ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ บางครั้งก็จะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการ แทนบริษัท ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขอํานาจกรรมการให้สอดคล้องกับกรรมการด้วย หรือบางครั้งไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกรรมการ แต่บริษัทประสงค์จะแก้ไขอํานาจกรรมการเพื่อให้การบริหารงานคล่องตัว หรือรัดกุม มากยิ่งขึ้น ก็ดําเนินการแก้ไขอํานาจกรรมการเพียงอย่างเดียวก็ได้ การแก้ไขอํานาจกรรมการนั้น จะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ที่ประชุมคณะกรรมการมีอํานาจลงมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงอํานาจ กรรมการได้ก็ให้ใช้มติที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ โดยไม่ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นได